IMAC Dojo : International Martial Arts Center

เรียนคาราเต้ Karate Class

คาราเต้เคียวคุชิน สำนัก Shinkyokushinkai Karate

โรงเรียนสอนศิลปะการป้องกันตัว IMAC Dojo สอนวิชาคาราเต้สไตล์เคียวคุชิน สำนัก WKO Shinkyokushinkai Karate (新極真会空手) ที่ยอมรับว่าเป็นคาราเต้ Full Contact ที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ก่อตั้งโดยปรมาจารย์  Masutatsu Ōyama (大山 倍達) ผู้ซึ่งทำให้คาราเต้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ด้วยการต่อสู้กับวัวกระทิงและหักเขาวัวกระทิงด้วยมือเปล่า คาราเต้เคียวคุชินไม่ใช่คาราเต้ที่เป็นกีฬา แต่เป็นคาราเต้ที่ฝึกเพื่อการป้องกันตัวโดยตรง เป็นหนึ่งในวิชาการต่อสู้ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้ป้องกันตัวและต่อสู้ได้จริง อีกทั้งเป็นวิชาที่ผู้ฝึกจะมีร่างกายที่แข็งแรง มีการพัฒนากล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นของร่างกาย ลดไขมัน สุขภาพดีขึ้นชัดเจน อีกทั้งยังชะลอวัย การฝึกคาราเต้เคียวคุชินอย่างต่อเนื่องช่วยสร้างเสริมความมั่นใจในการต่อสู้ในกรณีที่จำเป็นต้องป้องกันตัว ใช้หลีกเลี่ยงความรุนแรง ป้องกันตัวจากการถูก Bully ฝึกเพื่อป้องกันตัวและคนในครอบครัวกับคนที่ท่านรัก ฝึกสู้จริง ปะทะจริง เรียนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามหลักสูตรจากประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก มีผู้เรียนมากกว่า 20 ล้านคนทั่วโลกใน 140 ประเทศ

โรงเรียนสอนการต่อสู้ IMAC Dojo เป็นโรงเรียนสอนคาราเต้เคียวคุชิน ในรูปแบบ Group Class และแบบ Private Class สอนโดยครูสอนยูโดสายดำในสำนักมากถึง 6 ท่าน ภายใต้สำนักงานใหญ่ WKO (World Karate Organization) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันนำโดย Daihyo Kenji Midori ศิษย์เอกของปรมาจารย์ Mas Oyama และโรงเรียนสอนคาราเต้ IMAC Dojo ได้รับการควบคุมสอบวัดระดับนักเรียนโดย Shihan Frank Nagashima (WKO Asian Vice President) การฝึกคาราเต้เคียวคุชินจะแบ่งออก 3 ส่วน คือ Kihon (ฝึกซ้อมพื้นฐานท่าต่อสู้ด้วยหมัด เท้า เข่า ศอก รวมถึงการฝึก Ido Geiko คือการใช้ท่าต่อสู้พื้นฐานในขณะเคลื่อนไหว), Kata (ท่ารำคาราเต้ ซึ่งเป็นการรวบรวมท่าต่อสู้เป็นชุดมวยให้ฝึกอย่างเป็นระบบ) และ Kumite (Sparring การต่อสู้จริง) การฝึกคาราเต้เหมาะทั้งเด็กอายุ 7 – 8 ปี ขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่อายุ 60 – 70 ปี ก็ยังสามารถฝึกได้ สำหรับเด็กเล็กจะได้การฝึกสมองและระเบียบวินัย วัยรุ่นได้ประโยชน์จากการสร้างทักษะป้องกันตัวและรู้จักให้เกียรติต่อตนเองและเพื่อนในสังคม วัยทำงานช่วยให้ผ่อนคลาย สร้างกล้ามเนื้อและช่วยให้หัวใจแข็งแรง รักษาปัญหาออฟฟิศซินโดรม สำหรับผู้ใหญ่ช่วยฝึกความจำ พัฒนากล้ามเนื้อ ลดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังที่ต้องใช้การออกกำลังกายบำบัดรักษา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคอ้วน โรคไขมันพอกตับ ฯลฯ

ค่าเรียนคาราเต้ IMAC DOJO

ค่าเรียนคาราเต้แบบคลาสกลุ่ม

Karate Group Class Fee

คลาส Shinkyokushin Karate (Core)

วันเวลาเรียน :

วันศุกร์ 19.00 - 20.30 น.

ค่าเรียน :

1,000 บาทต่อเดือน (4 ครั้ง) กรณีหยุดไม่มีนโยบายชดเชยการสอน

การเตรียมตัวก่อนเรียน :

นักเรียนต้องมีชุดคาราเต้หรือสั่งซื้อกับทางโรงเรียนล่วงหน้าก่อนเรียน 1 วัน

ค่าเรียนคาราเต้แบบคลาสกลุ่ม

คลาส Shinkyokushin Karate (Kata)

วันเวลาเรียน :

วันศุกร์ 20.45 - 21.45 น.

ค่าเรียน :

800 บาทต่อเดือน (4 ครั้ง) กรณีหยุดไม่มีนโยบายชดเชยการสอน

การเตรียมตัวก่อนเรียน :

นักเรียนต้องมีชุดคาราเต้หรือสั่งซื้อกับทางโรงเรียนล่วงหน้าก่อนเรียน 1 วัน

Karate Private Class Fee

ค่าเรียนคาราเต้แบบคลาสตัวต่อตัว

วันเวลาเรียน :

นัดหมายเรียนด้วยระบบนัดหมายของ IMAC Dojo

ค่าเรียน :

600 บาทต่อคนต่อครั้ง (60 นาที) นักเรียนที่เรียนเพิ่ม 200 บาทต่อคน

เงื่อนไขการเรียน :

นักเรียนชำระค่าเรียนในระบบจอง ไม่สามารถยกเลิกหรือปรับเลื่อนเวลานัดได้

Shinkyokushinkai Karae GI

ค่าชุดคาราเต้

นักเรียนสามารถสั่งซื้อชุดคาราเต้ โดยให้แจ้งชื่อ-นามสกุลผู้เรียน, เพศ, อายุ, ส่วนสูง และ น้ำหนัก ทาง LINE Official ID : @imacdojo เพื่อทางโรงเรียน IMAC Dojo จะจัดเตรียมชุดให้ในวันที่เริ่มเรียน

ชุดซ้อมคาราเต้เกรดจีนรีด Flex โลโก้สำนัก + เสื้อยืดของสำนัก

ส่วนสูง 130 - 140 ซ.ม.

ค่าชุด 1,500 บาท

ส่วนสูง 150 - 190 ซ.ม.

ค่าชุด 1,800 บาท

ชุดคาราเต้ Shinkyokushin จากญี่ปุ่น + เสื้อยืดของสำนัก

ส่วนสูง 150 - 190 ซ.ม.

ค่าชุด 4,000 บาท

(กรณีสั่งชุดจริง ใช้เวลาสั่งประมาณ 3 - 4 เดือนล่วงหน้า)

การฝึกพื้นฐาน (KIHON)​

การฝึก Kihon หรือการฝึกพื้นฐานคาราเต้อย่างต่อเนื่องในคาราเต้สไตล์เคียวคุชินคาราเต้จะช่วยให้ผู้ฝึกมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งในเรื่องของความแม่นยำและความแข็งแกร่งของทักษะต่างๆ การฝึก Kihon เน้นความละเอียด ความถูกต้อง และการทำซ้ำเพื่อสร้างความชำนาญทั้งเรื่องของการยืน (stances), หมัด (punches), เตะ (kicks), กัน (blocks) และเน้นการฝึกซ้ำเพื่อพัฒนาความถูกต้อง ความแข็งแกร่ง และการควบคุมร่างกาย

การยืนของคาราเต้ (Stances) :

การตีด้วยมือ (Punch Techniques) :

การป้องกัน (Blocking Techniques) :

การเตะ (Kicking Techniques) :

การฟาดด้วยมือ (Striking Techniques) :

การโจมตีด้วยท่าพิเศษ (Special Techniques) :

การฝึกการหายใจ (Breathing Techniques) :

การฝึกต่อสู้จริง (Kumite)

Kumite เป็นการฝึกการต่อสู้ในรูปแบบ Full Contact ซึ่งมีระดับความเข้มข้นต่างกันไปตามระดับขั้น

Yakusoku Kumite :

การตีด้วยมือ (Punch Techniques) :

การป้องกัน (Blocking Techniques) :

Jiyu Kumite

ผู้ฝึกจะได้รับการฝึกการรับแรงกระแทก การหลบหลีก การโต้กลับ และการใช้ทักษะพื้นฐานในการต่อสู้

การฝึกร่างกาย (Conditioning)

เน้นการฝึกเพิ่มความแข็งแรง ความทนทาน ความรวดเร็ว และการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ การฝึกนี้จะรวมถึงการฝึกเตะต่อเนื่อง (Mawashi Geri drills), การฝึกหมัดบนกระสอบทราย, และการฝึกฝนร่างกายเพื่อเพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทก (เช่น การฝึกการเตะ/หมัดบนร่างกาย)

ท่ารำคาราเต้ (KATA)​

หลักสูตร Kata ของคาราเต้ Shinkyokushin เป็นการฝึกท่ารำที่ใช้ทดสอบความเชี่ยวชาญและการควบคุมทักษะพื้นฐาน (Kihon) ของผู้ฝึก Kata เป็นการฝึกความเป็นระเบียบ การเคลื่อนไหวที่แม่นยำ ถูกต้อง  แม่นยำ มีสมาธิ สามารถควบคุมพลังและลมหายใจให้เหมาะสมกับการฝึกแต่ละท่า การฝึก Kata จึงเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาทักษะคาราเต้ในระดับสูง หลักสูตร Kata ที่ได้รับการฝึกสอนใน Shinkyokushin คาราเต้มีดังนี้

Taikyoku Kata​ :

Pinan Kata :

Sanchin Kata :

Gekisai Kata :

Tsuki No Kata :

Yantsu :

Tensho :

Saiha :

Seienchin :

Garyu :

Kanku :

Sushiho :

Yantsu :

Seipai :

ท่าฝึกพื้นฐานแบบเคลื่อนไหว (IDO GEIKO)

หลักสูตรการฝึก Ideo Geiko ของ Shinkyokushinkai Karate เป็นการฝึกแบบกึ่งประยุกต์ซึ่งใช้ฝึกทักษะและเทคนิคต่างๆ ผ่านการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง โดย Ideo Geiko จะเน้นการนำท่าทางพื้นฐาน (Kihon) และท่ารำ (Kata) มาประยุกต์ใช้ในรูปแบบการต่อสู้ที่คล้ายกับการต่อสู้จริง แต่ในลักษณะที่ปลอดภัยและเป็นการฝึกปฏิกิริยา การเคลื่อนไหว และการตอบโต้ โดยการฝึกนี้เป็นส่วนสำคัญในการเตรียมความพร้อมของผู้ฝึกในการใช้ทักษะการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบดังนี้:

การฝึกพื้นฐานร่วมกับการเคลื่อนไหว (Moving Basics)

การฝึกการตอบโต้ (Reaction Training)

การฝึกการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (Continuous Movement)

การฝึกสมดุล (Balance Training)

การฝึกการเคลื่อนไหวหลบหลีก (Evasion Techniques)

การฝึกการปัดป้องพร้อมโจมตี (Simultaneous Block and Counter)

การฝึกการป้องกันตัวเองจากทิศทางต่างๆ (All-Direction Defense)

การฝึกหายใจและการควบคุมพลัง (Breathing and Power Control)

การฝึกใช้เทคนิคในการต่อสู้จริง (Practical Application Techniques)

การฝึกสมาธิสมดุลของร่างกายและจิตใจ (Mind & Body Coordination)

หลักเกณฑ์การสอบเลื่อนวิทยฐานะคาราเต้

NPO World Karate Organization Shinkyokushinkai

ระบบสายของ Shinkyokushinkai Karate คาราเต้สไตล์เคียวคุชินได้แบ่งระดับสายออกเป็น Kyu (คิว) สำหรับนักเรียนขั้นต้นจนถึงระดับสูง และ Dan (ดั้ง) สำหรับผู้เชี่ยวชาญหรือครูผู้ฝึกสายดำ โดยการจัดระดับสายนี้มีการระบุด้วยสีของสายคาดเอวเพื่อแสดงระดับความก้าวหน้าในทักษะ ความแข็งแกร่ง และความสามารถที่แตกต่างกัน

ระบบระดับสาย Kyu (คิว)

ระดับ Kyu เป็นระดับขั้นของนักเรียน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 10th Kyu (สายขาว) และไต่ระดับขึ้นไปจนถึง 1st Kyu (สายน้ำตาลปลายดำ) โดยจะเปลี่ยนสีของสายคาดตามระดับที่สูงขึ้น

ระดับ Kyu

10th Kyu

สีสาย

สายส้ม

คำอธิบาย

เริ่มต้นเรียนพื้นฐานของคาราเต้

ระดับ Kyu

9th Kyu

สีสาย

สายส้ม-ปลายดำ

คำอธิบาย

เรียนท่าพื้นฐานเพิ่มขึ้นและฝึกความแม่นยำ

ระดับ Kyu

8th Kyu

สีสาย

สายฟ้า

คำอธิบาย

เริ่มฝึกท่ารำและการเตะพื้นฐาน

ระดับ Kyu

7th Kyu

สีสาย

สายฟ้า-ปลายดำ

คำอธิบาย

ฝึกท่าพื้นฐานเพิ่มเติมและการเคลื่อนไหวขั้นกลาง

ระดับ Kyu

6th Kyu

สีสาย

สายเหลือง

คำอธิบาย

เริ่มฝึกท่ารำและการต่อสู้เบื้องต้น

ระดับ Kyu

5th Kyu

สีสาย

สายเหลือง-ปลายดำ

คำอธิบาย

ฝึกท่าพื้นฐานและทักษะการต่อสู้ระดับกลาง

ระดับ Kyu

4th Kyu

สีสาย

สายเขียว

คำอธิบาย

ฝึกเคลื่อนไหวซับซ้อนขึ้นและทักษะการต่อสู้เพิ่มขึ้น

ระดับ Kyu

3nd Kyu

สีสาย

สายเขียว-ปลายดำ

คำอธิบาย

ฝึกความทนทานและทักษะการต่อสู้ในระดับที่สูงขึ้น

ระดับ Kyu

2rd Kyu

สีสาย

สายน้ำตาล

คำอธิบาย

เริ่มฝึกทักษะขั้นสูงและการต่อสู้แบบต่อเนื่อง

ระดับ Kyu

1rd Kyu

สีสาย

สายน้ำตาล-ปลายดำ

คำอธิบาย

ระดับสูงสุดของ Kyu เตรียมสอบเข้าสายดำ

นักเรียนที่ต้องการเลื่อนระดับ Kyu จะต้องสอบผ่านการทดสอบท่าพื้นฐาน (Kihon), ท่าพื้นฐานแบบต่อเนื่อง (Ido Geiko), ท่ารำ (Kata), และการต่อสู้ (Kumite) ซึ่งระดับความเข้มข้นและความซับซ้อนของการสอบจะเพิ่มขึ้นตามระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสายน้ำตาลปลายดำ 1st Kyu จะใช้เวลาฝึกฝนอย่างน้อย 1 ปี เพื่อฝึกเป็นครูผู้ฝึกสอนคาราเต้ตามหลักสูตรของสำนัก เพื่อได้รับอนุมัติจากครูผู้ฝึกให้สอบสายดำ Dan 1

ระบบระดับสาย Dan (ดั้ง)

ระดับ Dan เป็นระดับของสายดำ ซึ่งแสดงถึงความเชี่ยวชาญ ความรู้ความเข้าใจในหลักการของคาราเต้ และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งระดับ Dan แบ่งออกเป็นหลายขั้น โดยระดับ 1st Dan (Shodan) เป็นระดับเริ่มต้นของสายดำ และจะไต่ระดับขึ้นไปถึง 10th Dan สำหรับผู้ที่มีคุณูปการต่อศิลปะการต่อสู้

ระดับ Dan

1st Dan (Shodan)

สีสาย

สายดำ

คำอธิบาย

ระดับสายดำที่แสดงความสามารถในการต่อสู้และท่ารำระดับสูง

ระดับ Kyu

2nd Dan (Nidan)

สีสาย

สายดำ

คำอธิบาย

ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญ

ระดับ Kyu

3rd Dan (Sandan)

สีสาย

สายดำ

คำอธิบาย

ครูฝึกที่มีประสบการณ์สูง สามารถสอนได้อย่างมีมาตรฐาน

ระดับ Kyu

4th Dan (Yondan)

สีสาย

สายดำ

คำอธิบาย

ครูที่มีความสามารถในการพัฒนาศิลปะการต่อสู้ในสถาบัน

ระดับ Kyu

5th Dan (Godan)

สีสาย

สายดำ

คำอธิบาย

ปรมาจารย์ระดับสูง มีคุณูปการต่อการพัฒนาคาราเต้

ระดับ Kyu

6th Dan

สีสาย

สายดำ

คำอธิบาย

ระดับปรมาจารย์ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำในศิลปะการต่อสู้ระดับสูง

ในระดับ Dan ขั้นสูง เช่น ระดับ 5th Dan ขึ้นไป มักเป็นระดับที่สงวนไว้ให้กับผู้ที่มีประสบการณ์ยาวนานและมีคุณูปการต่อการเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาหรือสนับสนุนให้คาราเต้ได้รับความนิยมในระดับสากล

การสอบและการเลื่อนระดับ

การสอบเลื่อนระดับใน Shinkyokushinkai Karate นั้นมีเกณฑ์และข้อกำหนดที่เข้มงวดเพื่อให้ผู้ฝึกได้รับการประเมินอย่างละเอียด ทั้งในด้านทักษะทางกายภาพและจิตใจ ซึ่งประกอบด้วย

1. Kihon (ท่าพื้นฐาน)

ในระดับ Dan ขั้นสูง เช่น ระดับ 5th Dan ขึ้นไป มักเป็นระดับที่สงวนไว้ให้กับผู้ที่มีประสบการณ์ยาวนานและมีคุณูปการต่อการเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาหรือสนับสนุนให้คาราเต้ได้รับความนิยมในระดับสากล

2. Kata (ท่ารำ)

ท่ารำที่ต้องทำอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับหลักการ เพื่อแสดงถึงการควบคุม ความแข็งแกร่ง และสมาธิ

3. Kumite (การต่อสู้)

การต่อสู้แบบ Full Contact โดยระดับที่สูงขึ้นจะมีจำนวนรอบและคู่ต่อสู้ที่มากขึ้น เพื่อทดสอบความทนทานและการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนมา

4. จิตวิญญาณและทัศนคติ

ความเคารพ ความมุ่งมั่น และความเข้าใจในปรัชญาของคาราเต้เป็นสิ่งสำคัญในระบบวัดระดับของ Shinkyokushinkai

การสอบระดับ Dan จะมีเกณฑ์เวลาในการฝึกที่เข้มงวด เช่น ผู้ที่สอบเลื่อนจาก 1st Dan เป็น 2nd Dan ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปี นอกจากนี้ยังต้องแสดงถึงการอุทิศตนและความเข้าใจในปรัชญาข องคาราเต้สไตล์เคียวคุชิน

ผู้มีสิทธิสอบต้องมีชั่วโมงในการเข้าสอบและได้รับอนุมัติคุณสมบัติในการสอบได้ตามเกณฑ์ของสำนัก

Kyu 10 – Kyu 3 :
คลาสกลุ่ม 10 ครั้งและคลาส KATA 10 ครั้ง
คลาสกลุ่ม 10 ครั้งและคลาส Private 2 ครั้ง
คลาสกลุ่ม 1 ครั้งและคลาส Private 7 ครั้ง

Kyu 2 – Kyu 1 :
คลาสกลุ่ม 16 ครั้งและคลาส KATA 16 ครั้ง
คลาสกลุ่ม 16 ครั้งและคลาส Private 4 ครั้ง
คลาสกลุ่ม 2 ครั้งและคลาส Private 15 ครั้ง

Dan1 :
คลาสกลุ่มอย่างน้อย 36 ครั้งก่อนสอบ
สาธิตการสอนคาราเต้กับนักเรียนเพื่ออนุมัติให้สอบสายดำ

รายละเอียดการสอบวัดระดับ Kyu 10 - Kyu 1

และการสอบวัดระดับสายดำ Dan 1

รายละเอียดการสอบวัดระดับอนุญาติให้เข้าดูหลักเกณฑ์ท่าสอบอย่างละเอียดเฉพาะนักเรียนคาราเต้ที่เรียนและทำการสอบวัดระดับ โดยนักเรียนสามารถขอ User Login และ Password จากครูผู้ฝึกสอนของโรงเรียนสอนคาราเต้ IMAC Dojo ได้

คลิปความรู้คาราเต้

IMAC Dojo Chanal

ท่านที่สนใจศึกษาวิชาคาราเต้ สามารถเข้าชมคลิป Youtube ของทางโรงเรียนสอนศิลปะการป้องกันตัว IMAC Dojo ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทำคลิปท่ายูโดที่ครบที่สุดในประเทศไทย

ประวัติปรมาจารย์คาราเต้สไตล์เคียวคุชิน Mas Oyama

SEO-Karate

อาจารย์มาซูทัตสึ โอยามะ

ผู้ก่อตั้งคาราเต้เคียวคุชิน

Sosai Masutatsu Oyama ปรมาจารย์มาซูทัตสึ โอยามะ เป็นผู้ก่อตั้งสมาพันธ์คาราเต้นานาชาติเคียวคุชินไคคัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1923 ท่านเริ่มเรียนเคมโปตั้งแต่วัยเยาว์และเข้าเรียนที่โรงเรียนการบินเยาวชนยามานาชิเมื่ออายุ 14 ปี ในวัย 15 ปี โอยามะได้เป็นลูกศิษย์ของ อาจารย์ กิชิน ฟูนากูชิ (Gichin Funakoshi) บิดาแห่งคาราเต้สมัยใหม่ ผู้เผยแพร่คาราเต้จากโอกินาวาสู่ญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ และก่อตั้งสำนักโชโตกัน (Shotokan) ท่านโอยามะได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยทาคุโชคุและมหาวิทยาลัยวาเซดะ และหลังจากการฝึกฝนอย่างหนักที่ภูเขามิโนบุ เขาก็ชนะเลิศการแข่งขันคาราเต้แห่งชาติครั้งแรกหลังสงครามในเดือนกันยายน ค.ศ. 1947

ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ท่านเริ่มฝึกฝนบนภูเขาคิโยซูมิเป็นระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1950 หลังจากลงจากภูเขา ท่านได้ปะทะกับวัวที่ดุร้ายในเมืองทาเตยามะ จังหวัดชิบะ โอยามะสังหารวัวได้ถึง 47 ตัว โดย 4 ตัวนั้นล้มลงในทันทีจากการโจมตีเพียงครั้งเดียว ในปี ค.ศ. 1952 ท่านเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงการสาธิตและส่งเสริมคาราเต้ โดยแข่งขันกับนักมวยปล้ำอาชีพและนักต่อสู้คนอื่น ๆ และชนะทุกการประลองทั้ง 7 ครั้ง หลังจากนั้นท่านยังคงเดินทางไปทั่วโลกเพื่อสาธิตและสอนศิลปะคาราเต้ให้กับผู้คนในหลายประเทศ

ในปี ค.ศ. 1964 ปรมาจารย์โอยามะก่อตั้งสมาพันธ์คาราเต้นานาชาติเคียวคุชินไคคัน และในปี ค.ศ. 1969 เขาได้เสนอแนวคิด “ระบบต่อสู้แบบปะทะ (Full Contact)” และจัดการแข่งขันคาราเต้ชิงแชมป์แห่งชาติญี่ปุ่นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1975 ท่านได้จัดการแข่งขันคาราเต้ชิงแชมป์โลกครั้งแรก หรือที่เรียกกันว่า “โอลิมปิคคาราเต้” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดกระแสคาราเต้เคียวคุชินไปทั่วโลก ด้วยการก่อตั้งโดโจที่ได้รับการรับรองในกว่า 120 ประเทศทั่วโลกและมีศิษย์ถึง 12 ล้านคน โอยามะทุ่มเทชีวิตให้กับคาราเต้เคียวคุชิน จนกระทั่งเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากโรคมะเร็งปอดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1994 ขณะอายุได้ 70 ปี

ประวัติของอาจารย์มาซูทัตสึ โอยามะ ผู้ก่อตั้งคาราเต้เคียวคุชิน ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Fighter in the Wind ซึ่งเล่าเรื่องราวการต่อสู้และความมุ่งมั่นของเขา สามารถรับชมตัวอย่างได้จากคลิปด้านล่าง

สรุปตารางชีวิตของปรมาจารย์ Mas Oyama

1923 เดือนกรกฎาคม: มาซูทัตสึ โอยามะเกิด

1943 เข้าร่วมกองทัพอากาศญี่ปุ่นจนถึงปี ค.ศ. 1945 เมื่อสงครามยุติ

1946 เดือนเมษายนท่านได้เข้าเรียนที่ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยวาเซดะ และลาออกเมื่อเดือนตุลาคมเพื่อขึ้นภูเขามิโนบุและอุทิศตนให้กับศิลปะการต่อสู้ 

1947 เดือนกันยายน: เข้าร่วมการแข่งขันคาราเต้ชิงแชมป์แห่งชาติที่หอประชุมมารุยามะในเกียวโตและชนะเลิศ

1948 ตัดสินใจอุทิศชีวิตให้กับคาราเต้และเข้าสู่ภูเขาคิโยสุมิ เพื่อฝึกฝนเป็นเวลา 18 เดือน

1950 สู้กับวัวในทาเตยามะ จังหวัดชิบะ สังหารวัว 47 ตัว โดย 4 ตัวเสียชีวิตทันที

1951 ตามคำขอของกองทัพสหรัฐ เขาสอนคาราเต้ให้กับทหารที่ประจำการในญี่ปุ่น

1952 สมาคมคาราเต้ชิคาโกเชิญให้เขาไปยังสหรัฐอเมริกา และจัดแสดงการสาธิตคาราเต้และสอนใน 32 แห่งทั่วประเทศเป็นเวลา 11 เดือน

1954 ติดป้าย “โอยามะ โดโจ” ในเมจิโระ โตเกียว

1956 เดือนมิถุนายน: โอยามะโดโจเช่าห้องสตูดิโอบัลเลต์เก่าหลังมหาวิทยาลัยริคเคียวและเริ่มการฝึกอบรมมีนักเรียนรวมกว่า 300 คน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสำนักงานใหญ่เคียวคุชินไคคันในปัจจุบัน

1960 เดือนเมษายน: หลังการฝึกฝนในต่างประเทศหลายครั้ง สร้างสาขาได้ 72 แห่งใน 16 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาและยุโรป

1963 เดือนมิถุนายน: เยี่ยมชมอเมริกา ยุโรป และแอฟริกาใต้ เมื่อโอยามะโดโจมีขนาดเล็กเกินไป เริ่มการก่อสร้างสำนักงานใหญ่เคียวคุชินไคคันที่ตำแหน่งปัจจุบันในนิชิ-อิเคะบุคุโระ เขตโทชิมะ

1964 เดือนเมษายน: เอซากุ ซาโตะ (รัฐมนตรีของรัฐในขณะนั้น) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสมาพันธ์คาราเต้นานาชาติเคียวคุชินไคคัน และมัตสึไดระ โมริ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธาน สมาคมนี้ใช้ชื่อว่า “Kyokushin Scholarship Foundation” เดือนมิถุนายน: สำนักงานใหญ่เคียวคุชินไคคันสร้างเสร็จและเปิดตัวสมาพันธ์คาราเต้นานาชาติเคียวคุชินไคคันอย่างเป็นทางการ

1966 เดือนพฤษภาคม: การแข่งขันคาราเต้ชิงแชมป์แห่งชาติญี่ปุ่นแบบเปิดครั้งแรกจัดขึ้นที่ยิมเนเซียมกรุงโตเกียว โดยมีผู้ชมถึง 7,000 คนและจัดขึ้นทุกปีนับแต่นั้นมา

1974 เดือนกรกฎาคม: ให้การสาธิตศิลปะการต่อสู้แก่เจ้าชายชาแรมและพระชายาแห่งอิหร่านที่โรงแรมโอกุระ และได้มอบสายดำดั้ง 2 ให้กับเจ้าชายชาแรม

1975 เดือนกรกฎาคม: การแข่งขันคาราเต้ชิงแชมป์โลกแบบเปิดครั้งแรกจัดขึ้นและจัดขึ้นทุกสี่ปีตั้งแต่นั้น

1978 เดือนพฤษภาคม: การแข่งขันคาราเต้สำหรับผู้พิการทางการได้ยินจัดขึ้นเป็นครั้งแรก

1979 เดือนมิถุนายน: การสาธิตศิลปะการต่อสู้ขนาดใหญ่จัดขึ้นที่สถานทูตโซเวียต

1984 เดือนมิถุนายน: การแข่งขันคาราเต้ชิงแชมป์ฮังการีครั้งแรกจัดขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันครั้งแรกในประเทศคอมมิวนิสต์

1988 ก่อตั้งองค์กรเคียวคุชินไคคันในทุกจังหวัดของญี่ปุ่น

1994 เมษายน ปรมาจารย์ Mas Oyama เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด และแต่งตั้ง โชเกะ มัตสึอิ (Shokei Matsui) เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งและเป็นหัวหน้าเคียวคุชินไคคันจนถึงปัจจุบัน ท่านเป็นนักคาราเต้ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งเพราะเคยทำสถิติ Hyakunin Kumite หรือการต่อสู้กับคู่ต่อสู้ 100 คนต่อเนื่องได้สำเร็จ และลูกศิษย์เอกอีกท่าน Mas Oyama คือ  เคนจิ มิโดริ (Kenji Midori) ซึ่งเป็นนักคาราเต้ฝีมือดีและอดีตแชมป์โลกคาราเต้ฟูลคอนแทค  ได้ก่อตั้งสำนัก Shinkyokushinkai Karate ซึ่งหมายความว่า คาราเต้เคียวคุชินใหม่ ที่มีผู้เรียนคาราเต้สไตล์เคียวคุชินในสำนักมากที่สุดในโลก

คาราเต้ Shinkyokushinkai : วิถีแห่งการฝึกจิตใจและการพัฒนาสังคม

Shinkyokushinkai Karate เป็น คาราเต้แบบ Full Contactที่โดดเด่นที่สุดในโลก ภายใต้การนำขององค์กร World Karate Organization (WKO) โดยมีปรัชญาหลักคือ “การฝึกจิตใจให้แข็งแกร่ง” ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งสามด้าน ได้แก่ การบ่มเพาะเยาวชน การมีส่วนร่วมทางสังคม และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ทำให้ Shinkyokushinkai Karate เป็นมากกว่าการฝึกฝนทักษะการต่อสู้ แต่ยังเป็นวิถีชีวิตที่พัฒนาจิตใจและร่างกายไปพร้อมกัน

ด้วยจำนวนสมาชิกกว่า 100,000 คนใน 102 ประเทศ (ข้อมูลปี 2021) Shinkyokushinkai Karate ไม่เพียงแต่แพร่หลายข้ามพรมแดนและเชื้อชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ยอมรับและชื่นชมในฐานะศิลปะการต่อสู้ที่ช่วยฝึกฝนจิตใจให้มีความแข็งแกร่งและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ปัจจุบันจำนวนเยาวชนที่สนใจฝึกฝน Shinkyokushinkai Karate เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งช่วยสร้างความเข้มแข็งในการเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น ปัญหาการกลั่นแกล้งและการแยกตัวจากสังคม

นอกเหนือจากการฝึกฝนในโดโจ Shinkyokushinkai ยังจัดการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ World Open Karate Championship ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีที่โตเกียว และการจัดแข่งขัน All Japan Open Karate Championship ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบเปิดน้ำหนักที่มีประวัติยาวนานกว่า 50 ปี การแข่งขันเหล่านี้เป็นเวทีที่นักคาราเต้ทุ่มเทฝึกฝนอย่างหนักเพื่อแสดงศักยภาพและผลลัพธ์ของการฝึกฝน สำหรับในประเทศแถบเอเซีย จะมีการจัดแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซียคือการแข่งขัน All Asia Full Contact Karate Championship ล่าสุดจัดแข่งขันในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นการแข่งขันครั้งที่ 19 โดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมแข่งขัน 23 ประเทศ

ผู้เข้าแข่งขันในแต่ละทัวร์นาเมนต์จะพยายามเพิ่มพูนความแข็งแกร่งและฝึกฝนอย่างหนักในทุกวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อเอาชนะจิตใจของตนเองและคว้าชัยชนะด้วยการพัฒนาความสามารถทั้งทางด้านเทคนิคและจิตวิญญาณ การเผชิญหน้ากันในสนามระหว่างนักคาราเต้ที่ทุ่มเทฝึกฝนอย่างหนักสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมด้วยการแสดงพลังที่สดใสและน่าประทับใจ

คำปฏิญาณของสำนัก Shinkyokushinkai Dojo Oath

新極真会の道場訓

一、吾々は心身を錬磨し 確固不抜の心技を極めること

เราจะฝึกจิตและกายให้แข็งแกร่งมั่นคง

空手を真剣に修行することによって心と身体を鍛え磨き、何事にも動じない強い意志と技を身につける。

一、吾々は武の神髄を極め 機に発し感に敏なること

เราจะมุ่งสู่ความหมายแท้จริงของวิถีบูโด

武道として空手の道を深く追求し、どんな状況でも機会を逃さず臨機応変に対応できる力を養う。そして、相手の心を理解する思いやりや優しさと痛みをも感じとれる豊かな心を身につける。

一、吾々は質実剛健を以って 克己の精神を涵養すること

เราจะปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งการเอาชนะตนเอง

自分自身は華美に飾ることなく、真面目で力強く逞しく空手の修行をすることによって、己の弱い心に打ち勝つ強い心を養う。

一、吾々は礼節を重んじ長上を敬し 粗暴の振舞いを慎むこと

เราจะรักษามารยาท เคารพผู้ใหญ่ และละเว้นจากความรุนแรง

礼儀をしっかりと身につけ、目上の人を敬い、人前で空手の力を誇示するような乱暴な行動をしてはいけない。

一、吾々は神仏を尊び 謙譲の美徳を忘れざること

เราจะปฏิบัติตามหลักแห่งศาสนา ไม่ลืมคุณธรรมแห่งความถ่อมตน

私達は人間の力の及ばない自然や宇宙の摂理を重んじなければなりません。 と同時に神仏を敬う心を忘れてはなりません。そう心がける事で万事に控えめで、他人に譲る態度が身につくのです。

一、吾々は知性と体力とを向上させ 事に臨んで過たざること

เราจะใฝ่หาปัญญาและความเข้มแข็ง ไม่เสาะหาสิ่งอื่น

文武両道に努め知性・教養を身につけるとともに体力を向上させ、大事な場面で的確な判断と行動が取れるようにすること。

一、吾々は生涯の修行を空手の道に通じ 極真の道を全うすること

เราจะดำเนินชีวิตตามวิถีเคียวคุชิน ด้วยการฝึกคาราเต้ตลอดชีวิต

武道として空手の道は一生かけて追い求めるものであり、生涯修行の中で空手の極意を掴んでいくものである。極意は体験の中にあり、よって体験を恐るべからず。

เพลงและเนื้อเพลงประจำสำนัก Shinkyokushinkai Karate

เพลงประจำสำนัก Shinkyokushinkai Karate ลิขสิทธิ์ของสำนัก WKO ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำเพลงเพื่อถ่ายทอดพลังแห่งจิตวิญญาณบูโด ผ่านเสียงดนตรีและคำร้องที่ทรงพลัง โดยผู้ฝึก Shinkyokushinkai ทุกคนล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงนี้ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความเข้มแข็ง ความกรุณา และความอดทนที่สะท้อนในวิถีการฝึกฝนคาราเต้ 

โรงเรียนสอนศิลปะป้องกันตัว IMAC Dojo มีภูมิใจที่เพลงนี้ได้รับการบรรเลงและขับร้องโดยทีมครูคาราเต้ของโรงเรียน ประกอบด้วย ครูเคน ปัญญวัฒน์ ศุภพิทักษ์พงษ์, ครูริว ภูริวัจน์ ศุภพิทักษ์พงษ์, ครูเรน ธนะโรจน์ ศุภพิทักษ์พงษ์ และครูมิเชล พิมนภัทร์ ศุภพิทักษ์พงษ์ ผู้เป็นตัวแทนแห่งความมุ่งมั่นและการฝึกฝนเพื่อการพัฒนาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ความหมายของเพลงประจำสำนัก Shinkyokushinkai สื่อถึงความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะตนเอง ความเข้มแข็งที่ต้องมีเพื่อเผชิญหน้ากับทุกอุปสรรค และการฝึกฝนที่ไม่สิ้นสุด เพลงยังเน้นถึงการรวมพลังจิตใจและร่างกายเข้าด้วยกัน เป็นการสะท้อนถึงเป้าหมายของ Shinkyokushinkai ที่จะสืบสานและเผยแพร่จิตวิญญาณแห่งบูโดให้คงอยู่ต่อไป

การร่วมมือของครูจาก IMAC Dojo ที่นำเสนอเพลงนี้ด้วยความตั้งใจเป็นการเน้นย้ำถึงความรักและความทุ่มเทในการฝึกคาราเต้ ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฝึกทั้งในและนอกสำนักได้เข้าถึงและเข้าใจความหมายแท้จริงของคาราเต้

新極真会の歌

作詞・作曲 長渕剛

照りつける太陽に灼熱の拳

せいやぁー せいやぁー 汗が飛ぶ

苦しみ貫く男の意地よ

死力を尽くし 今を研ぐ

 

空手の道に命をかけて

心身錬磨の荒波よ

胸ぐら突き刺す 一撃正拳

己をたたいて明日を行け

 

新極真 新極真 新極真の風が吹く

新極真 新極真 新極真の風が吹く

 

流れる涙と血潮がはじけ

高く 高く 土を蹴る

若き獅子よ! 牙をむき

ちぎれぬ絆で友を呼べ

 

水平線から陽が昇る

幾多の痛みを解き放て!

海に向かって 息吹を吐けば

強き心に 夢 宿る

 

新極真 新極真 新極真の風が吹く

新極真 新極真 新極真の風が吹く

 

新極真 新極真 新極真の風が吹く

新極真 新極真 新極真の風が吹く